No Image

ไปส่งใกล้ ๆ ไฉนกลับแสนไกล

November 27, 2019 Woraporn Poonyakanok 0

ในโอกาสที่รถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายกำลังจะเปิดเพิ่มถึงสถานีเกษตรศาสตร์ คนที่บ้านอยู่แถวนั้นก็คงสะดวกสบายขึ้น สำหรับคนที่มีที่ทำงานอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า จากเดิมที่อาจจะขับรถไปทำงาน ถ้าบ้านอยู่ใกล้สถานีก็อาจจะเดินออกไปขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงานได้ แต่สำหรับคนที่บ้านอยู่ในซอยลึก การใช้บริการวินมอเตอร์ไซค์หรือให้คนที่บ้านไปส่งที่สถานีรถไฟฟ้าหน้าบ้านก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ถ้าให้คนที่บ้านออกมาส่งที่สถานี เราก็สามารถขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สำหรับคนที่ออกมาส่งก็ต้องขับรถกลับเข้าบ้าน ทำให้อยากรู้ว่าระยะทางมาส่งที่สถานีกับกลับเข้าบ้านต่างกันแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกรุงเทพฯ ที่โครงข่ายถนนมีความพรุนต่ำ หรือมีความเป็น superblock สูง การวิเคราะห์ครั้งนี้จึงเป็นการหาระยะทางจากบ้านที่อยู่ในซอยไปยังสถานีบีทีเอสในกรุงเทพฯ ที่ใกล้ที่สุด และหาระยะทางที่ใกล้ที่สุดจากบีทีเอสกลับบ้าน(จุดเริ่มต้น) โดยที่ระยะทางจากบ้านไปบีทีเอสไม่เกิน 4 กิโลเมตร หากเกินกว่านี้จะไม่นำมาแสดงผล พูดในเชิงเทคนิคก็คือ จากจุดยอดใด […]

No Image

ทำไมกรุงเทพฯ รถติด: ตอนกรุงเทพฯ มีถนนหลักไม่พอ

May 28, 2019 Woraporn Poonyakanok 0

ช่วงนี้มีโอกาสได้ลองใช้ OSMnx ซึ่งเป็นเครื่องมือ Python opensource สำหรับใช้วิเคราะห์โครงข่ายถนน โดยดาวน์โหลดโครงข่ายถนนจาก Openstreetmap เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไปได้ สืบเนื่องจากโพสต์เก่าที่เคยเขียนว่ากรุงเทพฯ รถติดเนื่องจากมีถนนไม่พอ โดยถนนที่กรุงเทพฯ มีไม่พอนั้นคือถนนหลัก รวมถึงปัญหา superblock การมีซอยลึกห่างจากถนนใหญ่ จึงคันไม้คันมืออยากรู้ว่าระยะทางจากแต่ละจุดในแผนที่ไปยังถนนหลักที่ใกล้ที่สุดนั้นมีระยะทางเท่าไหร่ (พูดในภาษา OSMnx คือ ระยะเฉลี่ยจากทุกจุดยอด (node) ที่ไม่อยู่ในถนน motorway และ […]

No Image

การใช้ OSMnx วิเคราะห์โครงข่ายถนน

May 28, 2019 Woraporn Poonyakanok 0

การวิเคราะห์โครงข่ายถนนสามารถทาได้หลายวิธีเช่นการศึกษาสัณฐานของเมือง (urban form) รูปแบบการเดินทาง (transportation studies) รูปแบบการเชื่อมต่อโครงข่าย (topology) อย่างไรก็ดีการวิเคราะห์โครงข่ายถนนของเมืองทั้งเมืองมักประสบปัญหาความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล ความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูล ในที่นี้จะขอแนะนำ OSMnx ที่พัฒนาโดย Geoff Boeing ซึ่งเป็นแพ็กเกจไพทอนโอเพนซอร์สสาหรับดาวน์โหลดภาพขอบเขตการปกครอง (political/administrative boundary geometry) รูปร่างพื้นที่ฐานอาคาร (building footprint) และโครงข่ายถนนจาก OpenStreetMap สำหรับคนที่ไม่เคยใช้ไพทอนมาก่อน […]

ใครได้ใครเสีย: ตอนโชคดีจังมีรถไฟฟ้าผ่านหน้าบ้าน

December 27, 2016 Woraporn Poonyakanok 0

เห็นข่าวการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายนั้นสายนี้ หลายคนก็อาจคิดอยู่ในใจว่า เมื่อไหร่จะมาถึงหน้าบ้านเราซะทีนะ จะได้มีทางเลือกในการเดินทาง แถมราคาที่ดินแถวบ้านก็จะได้เพิ่มขึ้นด้วย แต่สำหรับคนที่บ้านอยู่ในซอยลึก ๆ ราคาที่ดินก็คงจะไม่เพิ่มซักเท่าไหร่ บางคนก็อาจจะอิจฉาคนที่มีบ้านอยู่ใกล้ ๆ ถนนใหญ่ พลางคิดไปไกลว่าทำไมสมัยก่อนปู่ย่าตายายเราไม่ซื้อที่ดินตรงนั้นแทนนะ การที่เจ้าของที่ดินจำนวนหนึ่งได้ประโยชน์(ราคาที่ดินตนเองสูงขึ้น)จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลยนั้นแฟร์หรือไม่? ในเมื่อรถไฟฟ้า(ที่ไม่ใช่ทำโดยเอกชน)นั้นใช้เงินภาษีประชาชนสร้าง แล้วทำไมถึงมีคนได้ประโยชน์โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ปรากฏการณ์”ลาภลอย”นี้เป็นแค่เรื่องโชคของคนบางกลุ่มโดยที่ทำอะไรไม่ได้เลยจริงหรือ? จะทำอย่างไรกับความไม่เป็นธรรมที่คนไม่ได้ใช้รถไฟฟ้าตรงนั้นแต่กลับต้องจ่ายค่าก่อสร้างผ่านทางเงินภาษี แถมยังมีคนได้ประโยชน์ที่ดินราคาสูงขึ้นไปฟรี ๆ อีกด้วย หรือจะทำอย่างไรกับความไม่เป็นธรรมที่มีคนเข้าถึงข้อมูลและไปซื้อที่ดินล่วงหน้าก่อนคนอื่น ๆ พอโครงสร้างพื้นฐานเสร็จราคาที่ดินก็สูงขึ้น มูลค่าที่ดินอาจดูเป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนเดียว […]

ทำไมผังเมืองในญี่ปุ่นมักเป็นตารางสี่เหลี่ยม?

December 26, 2016 Woraporn Poonyakanok 2

หลาย ๆ เมืองในญี่ปุ่นมักมีผังเมืองเป็นแบบกริดที่มีลักษณะเป็นตารางสี่เหลี่ยม ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงอย่างโตเกียว หรือเมืองใหญ่ ๆ เมืองอื่นเช่นนาโกย่า โอซาก้า ซัปโปโร หันกลับมามองผังเมืองกรุงเทพฯ แล้วหลายคนก็แอบถอนหายใจ แต่เมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนั้นอยู่ ๆ ก็ไม่ได้เกิดมาหน้าตาสี่เหลี่ยมกันหรอก ภาพด้านล่างเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะแปลงที่ดินและถนนของย่าน ๆ หนึ่งในโตเกียว จะเห็นได้ว่าในภาพด้านซ้าย แปลงที่ดินก็เป็นสี่เหลี่ยมบ้าง ไม่เป็นรูปทรงเรขาคณิตบ้าง ส่วนถนนก็ลัดเลาะไปตามแปลงที่ดินเล็ก ๆ เหล่านั้น แต่ในภาพด้านขวา อยู่ […]

รถหยุดรับส่งบริเวณ ฺBTS หมอชิต

ทำไมกรุงเทพฯ รถติด: ก็เพราะ kiss and ride กันบนถนน

December 23, 2016 Woraporn Poonyakanok 0

“อะไรคือ kiss and ride?” ถ้าเรียก park and ride ว่าจอดแล้วจร kiss and ride ก็คงเป็นการ”มีคนมาส่งแล้วจร” คือให้แค่ kiss goodbye แล้วก็ลงรถไปขึ้นรถไฟฟ้าต่อ นอกจากจะมีคนมาส่งแล้ว ก็ต้องมีคนมารับคนที่เพิ่งออกมาจากรถไฟฟ้า แล้วทั้งสองอย่างนี้ทำให้รถติดยังไง? หลายคนอาจจะคิดว่าหยุดรับส่งแค่แป๊บเดียวไม่เป็นไรหรอก แต่สำหรับสถานีที่มีคนขึ้นลงเป็นหมื่น ๆ แสน ๆ […]

No Image

ทำไมกรุงเทพฯ รถติด: ตอนเพราะบนถนนจอดรถฟรี

December 21, 2016 Woraporn Poonyakanok 0

“ก็แหงอยู่แล้ว” หลาย ๆ คนคงคิดเช่นนั้น การจอดรถบนถนนทำให้เสียพื้นที่จราจรไปเห็น ๆ แต่เรื่องไม่จบแค่นั้นน่ะสิ การที่รัฐไม่เก็บค่าที่จอดรถบนถนนในเมือง ทำให้เกิดผลกระทบที่มองไม่เห็นมากกว่านั้นเยอะ สำหรับคนที่ขับรถ คุณเคยวนหาที่จอดรถไปเรื่อย ๆ บนถนนไหม? ถ้าใช่ก็ขอแสดงความยินดีด้วย เพราะคุณก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รถติดเพิ่ม มีการศึกษาในหลายประเทศพบว่าปริมาณรถบนถนนในเมืองนั้นเกิดจากรถที่วนหาที่จอดฟรีเฉลี่ยสูงถึง 30%1 เลยทีเดียว สำหรับกรุงเทพฯ เรามองไม่เห็นเลยว่ารถที่วิ่งอยู่บนทั้งถนนทั้งหมดนั้น ใครบ้างที่กำลังเดินทาง และใครบ้างที่กำลังวนหาที่จอด (cruising) อย่าลืมว่าเรากำลังพูดถึงที่จอดรถบนถนน (on-street) […]

ทำไมกรุงเทพฯ รถติด: ตอนกรุงเทพฯ มีถนนไม่พอ

December 21, 2016 Woraporn Poonyakanok 0

จั่วหัวมาเช่นนี้ บางคนก็อาจจะจินตนาการถึงภาพถนนสุขุมวิทขยายกว้างสิบเลน แต่คำว่าถนนไม่พอในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงความกว้างถนนหลักเช่นนั้น แต่หมายความว่ากรุงเทพฯ มี”จำนวน”ถนนไม่พอต่างหาก จากรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำมาตรฐานด้านผังเมืองของกรุงเทพมหานคร  2553 พบว่ากรุงเทพฯ มีพื้นที่ถนนทั้งหมดประมาณ 8% จากพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ควรมีพื้นที่ถนนเทียบกับพื้นที่เมืองประมาณ 20 – 25% แต่อย่างที่กล่าวไป วิธีแก้ไม่ใช่การเพิ่มเลนถนน หรือสร้างแต่ทางด่วนอย่างเดียว เราต้องมาดูรายละเอียดว่าถนนแบบไหนในกรุงเทพฯ ที่มีไม่พอ ตามหลักวิศวกรรมจราจรแล้ว ถนนในเมืองมี 4 […]

No Image

การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development)

December 20, 2016 Woraporn Poonyakanok 1

แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development หรือ TOD) หมายถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน มีความหนาแน่นสูง และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน แนวคิด TOD มุ่งสร้างกิจกรรมหลากหลายในพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน โดยมีที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ สำนักงาน และการใช้ประโยชน์ประเภทอื่น ๆ พร้อมกับออกแบบเพื่อรองรับผู้ใช้ระบบขนส่งมวลชนเป็นหลัก รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินเท้าและใช้จักรยาน เพื่อให้มีทางเลือกในการเดินทางหลากหลาย ลดการพึ่งพาการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล แนวคิด TOD ได้รับความสนใจในนโยบายการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ สร้างโอกาสในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนให้ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ […]

No Image

นักวางแผนเมืองไม่ควรถูกสอนให้เป็นพระเจ้า

December 17, 2016 Woraporn Poonyakanok 0

“เอาโรงงานไปวางตรงนี้ละกัน ยังไงเราก็ไล่เค้า(หมายถึงคนที่อยู่ตรงนั้นอยู่เดิม)ไปได้อยู่แล้วนิ” ประโยคธรรมดา ๆ ที่ได้ยินระหว่างเรียนปฏิบัติการวางแผนเมือง แต่สะท้อนอะไรได้ดีทีเดียว แน่นอนว่าแค่คำพูด ๆ เดียว ซึ่งอาจจะไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองมากนัก จะเอามาคิดเหมารวมไม่ได้ว่าคนที่เรียนการวางแผนเมืองจะเป็นอย่างนี้ทั้งหมด แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ เมื่อนักเรียนทั้งหลายจบไป เค้าจะยังมีความคิดนี้อยู่มากน้อยแค่ไหน และการเรียนการสอนด้านการวางแผนเมืองของเรา ผลิตคนที่คิดแบบไหนออกมา? เค้าตระหนักกันแค่ไหนว่า เมื่อออกไปประกอบวิชาชีพแล้ว การกระทำของเค้าจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนจริง ๆ หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า การวางแผนเมืองนั้นไม่มีอะไรซับซ้อน ก็แค่วิเคราะห์ดูว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นยังไงบ้าง […]