No Image

ไปส่งใกล้ ๆ ไฉนกลับแสนไกล

November 27, 2019 Woraporn Poonyakanok 0

ในโอกาสที่รถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายกำลังจะเปิดเพิ่มถึงสถานีเกษตรศาสตร์ คนที่บ้านอยู่แถวนั้นก็คงสะดวกสบายขึ้น สำหรับคนที่มีที่ทำงานอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า จากเดิมที่อาจจะขับรถไปทำงาน ถ้าบ้านอยู่ใกล้สถานีก็อาจจะเดินออกไปขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงานได้ แต่สำหรับคนที่บ้านอยู่ในซอยลึก การใช้บริการวินมอเตอร์ไซค์หรือให้คนที่บ้านไปส่งที่สถานีรถไฟฟ้าหน้าบ้านก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ถ้าให้คนที่บ้านออกมาส่งที่สถานี เราก็สามารถขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สำหรับคนที่ออกมาส่งก็ต้องขับรถกลับเข้าบ้าน ทำให้อยากรู้ว่าระยะทางมาส่งที่สถานีกับกลับเข้าบ้านต่างกันแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกรุงเทพฯ ที่โครงข่ายถนนมีความพรุนต่ำ หรือมีความเป็น superblock สูง การวิเคราะห์ครั้งนี้จึงเป็นการหาระยะทางจากบ้านที่อยู่ในซอยไปยังสถานีบีทีเอสในกรุงเทพฯ ที่ใกล้ที่สุด และหาระยะทางที่ใกล้ที่สุดจากบีทีเอสกลับบ้าน(จุดเริ่มต้น) โดยที่ระยะทางจากบ้านไปบีทีเอสไม่เกิน 4 กิโลเมตร หากเกินกว่านี้จะไม่นำมาแสดงผล พูดในเชิงเทคนิคก็คือ จากจุดยอดใด […]

No Image

ทำไมกรุงเทพฯ รถติด: ตอนกรุงเทพฯ มีถนนหลักไม่พอ

May 28, 2019 Woraporn Poonyakanok 0

ช่วงนี้มีโอกาสได้ลองใช้ OSMnx ซึ่งเป็นเครื่องมือ Python opensource สำหรับใช้วิเคราะห์โครงข่ายถนน โดยดาวน์โหลดโครงข่ายถนนจาก Openstreetmap เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไปได้ สืบเนื่องจากโพสต์เก่าที่เคยเขียนว่ากรุงเทพฯ รถติดเนื่องจากมีถนนไม่พอ โดยถนนที่กรุงเทพฯ มีไม่พอนั้นคือถนนหลัก รวมถึงปัญหา superblock การมีซอยลึกห่างจากถนนใหญ่ จึงคันไม้คันมืออยากรู้ว่าระยะทางจากแต่ละจุดในแผนที่ไปยังถนนหลักที่ใกล้ที่สุดนั้นมีระยะทางเท่าไหร่ (พูดในภาษา OSMnx คือ ระยะเฉลี่ยจากทุกจุดยอด (node) ที่ไม่อยู่ในถนน motorway และ […]

No Image

การใช้ OSMnx วิเคราะห์โครงข่ายถนน

May 28, 2019 Woraporn Poonyakanok 0

การวิเคราะห์โครงข่ายถนนสามารถทาได้หลายวิธีเช่นการศึกษาสัณฐานของเมือง (urban form) รูปแบบการเดินทาง (transportation studies) รูปแบบการเชื่อมต่อโครงข่าย (topology) อย่างไรก็ดีการวิเคราะห์โครงข่ายถนนของเมืองทั้งเมืองมักประสบปัญหาความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล ความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูล ในที่นี้จะขอแนะนำ OSMnx ที่พัฒนาโดย Geoff Boeing ซึ่งเป็นแพ็กเกจไพทอนโอเพนซอร์สสาหรับดาวน์โหลดภาพขอบเขตการปกครอง (political/administrative boundary geometry) รูปร่างพื้นที่ฐานอาคาร (building footprint) และโครงข่ายถนนจาก OpenStreetMap สำหรับคนที่ไม่เคยใช้ไพทอนมาก่อน […]