ความสำคัญของทางข้าม
ทางข้ามนั้นส่งผลต่อพฤติกรรมคนเดินเท้า ทางข้ามที่ปลอดภัยและมีมากพอทำให้คนเดินเท้ารู้สึกดีและอยากเดิน ในทางกลับกัน ทางข้ามที่ออกแบบไม่ตอบสนองความต้องการคนเดินอาจะทำให้เกิดการฝ่าฝืนกฎไม่ข้ามในทางข้าม หรืออาจทำให้คนเดินหันไปขับรถแทนเพื่อหลีกเลี่ยงประสบการณ์แย่ ๆ
ความต้องการของคนเดินเท้า
- ปลอดภัย
- ใช้แรงกายเพื่อขึ้นลงน้อย (ไม่ต้องเดินขึ้นลง)
- ใช้แรงกายในแนวราบน้อย (ไม่ต้องเดิมอ้อมหรือออกนอกเส้นทางไปไกลเพื่อไปข้ามที่ทางข้าม)
- รอไม่นาน หรือรู้ว่าต้องรอนานแค่ไหน
รูปแบบทางข้าม
ทางข้ามพื้นราบ คนข้ามใช้แรงกายน้อย ก่อสร้างง่าย แต่มีความเสี่ยงจากการปะปนกับรถยนต์ ผู้ใช้วีลแชร์ก็ใช้ได้ถ้ามีทางลาดระหว่างถนนกับทางเท้าที่เหมาะสม
ทางข้ามต่างระดับ เช่น สะพานลอย/อุโมงค์คนข้าม คนข้ามใช้แรงกายเพื่อขึ้นลงมาก ผู้สูงอายุอาจใช้ได้ยาก ผู้ใช้วีลแชร์ใช้ไม่ได้เลยถ้าไม่มีลิฟต์หรือทางลาดที่มีความชันเหมาะสม อาจเสี่ยงเกิดอาชญากรรม ปลอดภัยเพราะแยกคนเดินกับรถออกจากกันโดยเด็ดขาด ค่าก่อสร้างสูง และสูงยิ่งขึ้นเมื่อติดตั้งลิฟต์หรือทางลาดเพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์ข้ามถนนได้