ทางข้ามพื้นราบหรือทางม้าลาย เป็นจุดตัดของคนเดินเท้าและรถยนต์ มาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้างที่ช่วยให้คนเดินเท้าข้ามทางม้าลายได้ปลอดภัยขึ้น
-
ทำให้คนเดินอยู่บนถนนน้อยที่สุด
– ขยายขอบทางบริเวณทางข้าม (curb extension)
เป็นการขยายแนวทางเท้าออกมาบนถนน ขยายได้ง่ายบนถนนที่เดิมอนุญาตให้จอดรถริมถนนอยู่แล้ว
ก่อน คนเดินเท้าต้องข้ามถนนกว้างเกือบ 4 เลน
หลัง คนเดินเท้าข้ามถนนกว้าง 2 เลน
– เกาะกลาง โดยเฉพาะเกาะกลางที่มีขอบกั้นสูงขึ้นมาจากถนนเล็กน้อย ช่วยให้คนข้ามมีที่หยุดรออย่างปลอดภัย
-
ลดความเร็วรถยนต์ที่เข้าสู่บริเวณทางข้าม
– ยกระดับทางข้ามให้เสมอทางเท้า ผู้ใช้วีลแชร์ใช้ทางข้ามได้ง่ายขึ้น ควรติดผิวต่างสัมผัสแบบเตือนเพื่อให้ผู้พิการทางสายตาแยกแยะบริเวณทางข้ามออกจากทางเท้าได้
(autor: ŠJů, Wikimedia Commons [CC BY-SA 3.0 )– ขยายขอบทางบรเิวณทางข้าม (curb extension)
– ทำให้มุมเลี้ยวรถยนต์แคบ
ก่อน ทางเท้าร่นเข้ามามาก ถนนบริเวณเลี้ยวกว้าง รถเลี้ยวด้วยความเร็วได้หลัง ทางเท้าขยายออกไปบนถนนมากขึ้น มุมเลี้ยวสำหรับรถแคบลง รถต้องชะลอความเร็วเวลาเลี้ยว
ทางแยกแบบมีช่องบังคับทิศทางรถเลี้ยวซ้าย มักทำให้คนขับรถเลี้ยวซ้ายด้วยความเร็ว และมักไม่หยุดให้คนข้ามถนน อาจเปลี่ยนให้มุมเลี้ยวแคบลงเพื่อบังคับให้คนขับรถชะลอรถก่อนเลี้ยวมากขึ้น หรืออาจะยกเลิกช่องบังคับทิศทางนั้น ขยายขอบทางเท้าออกมา คนขับรถจะเลี้ยวด้วยความเร็วลดลง หยุดให้คนข้ามถนนข้ามง่ายขึ้น
-
ทำให้คนขับรถมองเห็นคนข้าม ทำให้คนข้ามมองเห็นรถ
– ตำแหน่งเส้นให้รถหยุด
ปัญหาที่พบ เส้นให้รถหยุด(เส้นหยุด) อยู่ใกล้ทางข้ามเกินไป รถเลนซ้ายหยุดให้คนข้ามแล้ว แต่คนขับรถคันสีส้มมองไม่เห็นว่ามีคนกำลังข้ามถนน คนข้ามถนนก็มองไม่เห็นรถสีส้มเนื่องจากรถที่หยุดให้ข้ามนั้นบังอยู่
แนวทางแก้ไข เส้นให้รถหยุดควรอยู่ห่างจากทางข้าม 6 – 15 เมตร สำหรับทางข้ามกลางช่วงถนน (mid-block crosswalks) ที่ไม่มีสัญญาณไฟกำกับ1
-
จัดให้มีเส้นหยุดสำหรับมอเตอร์ไซค์ต่างหากจากเส้นหยุดของรถยนต์
ปัญหาที่พบ โดยธรรมชาติของมอเตอร์ไซค์(ในประเทศที่อนุญาตให้ขี่ระหว่างเลน) เมื่อติดไฟแดงจะขี่ระหว่างเลนมาหยุดใกล้ ๆ แยก เมื่อมอเตอร์ไซค์มีปริมาณมากและไม่มีการกวดขันไม่ให้หยุดทับทางข้าม มอเตอร์ไซค์จะหยุดบนทางม้าลาย ทำให้คนเดินข้ามลำบาก
เมื่อเวลาผ่านไปมอเตอร์ไซค์มาหยุดเพิ่มขึ้นอีก
แนวทางแก้ไข ทำเส้นหยุดสำหรับมอเตอร์ไซค์แยกต่างหากจากเส้นหยุดของรถยนต์
-
ทำสัญลักษณ์ที่พื้นให้เห็นทางข้ามได้ชัดเจน (ทาสีทางม้าลายให้เห็นชัด) ทั้งกลางวันและกลางคืน
ปัญหาที่พบ สีที่ใช้ทำเครื่องหมายบนถนนมองเห็นได้ยากในเวลากลางคืน
แนวทางแก้ไข สีจราจรที่ยังไม่ผสมลูกแก้ว จะมีค่าความสะท้อนแสงน้อย เช่น สีจราจร (มอก. 415-2548) จำเป็นต้องผสมลูกแก้วสะท้อนแสงเพื่อเพิ่มค่าการสะท้อนแสงในเวลากลางคืน ให้คนขับรถมองเห็นเส้นจราจร สีของทางม้าลายได้ชัด หรืออาจะเลือกใช้วัสดุเทอร์โมพลาสติกสะท้อนแสงสำหรับทำเครื่องหมายบนผิวทาง (มอก.542-2549)
ปัญหาที่พบ สีที่ใช้ทำเครื่องหมายบนถนนบิดเบี้ยว หรือจางลงแนวทางแก้ไข ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ เช่น ถ้ายางมะตอยเยิ้มจากอากาศร้อน เมื่อรถวิ่งผ่าน สีตีเส้นเคลื่อนไปตามแนวยางรถยนต์ แสดงว่ายางมะตอยนั้นมีคุณสมบัติด้านจุดอ่อนตัวไม่ดีพอ มีจุดอ่อนตัวต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
-
ทำสัญลักษณ์ที่พื้นให้คนขับรถรู้ว่าด้านหน้ามีทางข้าม
-
มีไฟส่องสว่างเพียงพอในเวลากลางคืน
-
มีทางลาดก่อนเข้าทางข้ามด้วยความลาดชันที่เหมาะสม
ตัวอย่างความลาดชันที่แนะนำให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่นคือ 1:20 (เมื่อเดินไปทางราบ 20 ส่วน จะสูงขึ้น 1 ส่วน) กรณีที่พื้นที่จำกัดให้ใช้ 1:12.5 ได้
ตัวอย่างทางลาดก่อนเข้าทางข้ามที่มีความลาดชันเหมาะสม ผู้ใช้วีลแชร์เข็นขึ้นลงด้วยตัวเองได้
ตัวอย่างทางลาดก่อนเข้าทางข้ามที่ชันเกินไปผู้ใช้วีลแชร์เข็นขึ้นลงด้วยตัวเองลำบาก มีเสากั้นผู้ใช้วีลแชร์ผ่านไม่ได้
อ้างอิง
1. Urban Street Design Guide, หน้า 115 แปลงหน่วยเป็นเมตรจาก 20 – 50 ฟุตรูปประกอบ
1. ทางข้ามยกเสมอทางเท้า autor: ŠJů, CC BY-SA 3.0