คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (International Paralympic Committee; IPC) กำหนดให้สนามกีฬามีที่นั่งสำหรับผู้มีความแตกต่างทางกายภาพดังนี้
1. ที่นั่งสำหรับผู้พิการเข้าถึงได้ (Accessible Seating)
สนามกีฬาใด ๆ ควรมีที่นั่งสำหรับผู้พิการเข้าถึงได้อย่างน้อย 0.5% ของความจุสนาม
สำหรับสนามกีฬาที่ใช้สำหรับจัดโอลิมปิก มีที่นั่งสำหรับผู้พิการเข้าถึงได้อย่างน้อย 0.75% ของความจุสนาม และเพิ่มเป็น 1 – 1.2% สำหรับสนามที่ใช้จัดพาราลิมปิก
ที่นั่งสำหรับผู้พิการเข้าถึงได้ ควรมีหลายโซนกระจายไป เพื่อให้ผู้พิการสามารถเลือกซื้อที่นั่งตามราคาที่ต้องการเฉกเช่นผู้ชมอื่น ๆ นอกจากนี้ควรมีห้องน้ำอเนกประสงค์, ที่ขายเครื่องดื่มและอาหาร, ร้านค้า, ที่นั่งรับรองและลิฟต์

2. ที่นั่งสำหรับผู้ติดตาม (Companion Seating)
มีจำนวนเท่ากับที่นั่งสำหรับผู้พิการเข้าถึงได้ด้านบน จัดไว้ให้อยู่ด้านข้าง ไม่ใช่ด้านหลังผู้พิการ
รูปโดย Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism, Japan (Link)
3. ที่นั่งเพิ่มพื้นที่ (Enhanced amenity seating)
เป็นที่นั่งที่มีพื้นที่ด้านหน้าและด้านข้างมากกว่า สำหรับผู้พิการทางสายตาพร้อมสุนัขนำทาง, ผู้ที่ใช้ไม้เท้า, เครื่องช่วยเดิน ฯลฯ มีจำนวนที่นั่งไม่น้อยกว่า 1% ของความจุสนาม มีอยู่ในหลายโซนที่นั่ง และอยู่ในแถวที่ไม่ต้องเดินขึ้นลงบันไดมากนัก
การออกแบบแนวสายตา
ที่นั่งสำหรับผู้มีความแตกต่างทางกายภาพนั้น ผู้ใช้วีลแชร์ไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้ง่าย จึงต้องออกแบบให้ผู้นั่งตรงนี้มองเห็นได้ตลอดเวลา แม้ว่าผู้ชมแถวล่าง ๆ จะลุกขึ้นยืนก็ตาม
ดัดเแปลงจากรูปโดย Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism, Japan (Link)
อ้างอิง
Accessibility Guide An Inclusive Approach to the Olympic & Paralympic Games
日本財団 パラリンピック研究会 紀要 第2号(別冊) May 2015
高齢者、障害者等の円滑な移動等に配慮した建築設計標準